วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560



M Y   F R I E N D




เพื่อน  คือพันธสัญญาแห่งความเข้าใจที่ตรงกัน
พื่อน  คือบุคคลที่คบกับเราในลักษณะที่เราเป็นอยู่  โดยที่เราไม่ต้องใส่หน้ากาก
เพื่อน  คือมิตรแท้ที่กล้าให้คำมั่นสัญญาต่อมิตรได้
เพื่อน  คือมิตรที่พยายามส่งเสริมเรา  ให้ความสนใจเรา  เชื่อในตัวเราตามที่เราเป็นจริง
เพื่อน  คือคนที่ยังอยู่กับเรา ร่วมทุกข์ร่วมสุขแม้ในเวลาที่เราไม่มีประโยชน์จะให้
เพื่อน  คือคนที่รักเรา แม้เราจะทำสิ่งไม่ดีที่สุด  แต่ศัตรูเกลียดเรา แม้เราจะทำแต่สิ่งที่เขาก็รู้ว่าดีที่สุด
เพื่อน  คือคนที่เข้าใจเราได้โดยไม่จำเป็นต้องพูดมากเพราะเขาคุ้นเคย  และรู้จักความคิดความอ่านของเรา แค่มองหน้าก็รู้ปัญหา แค่มองตาก็เข้าใจ
เพื่อน  คือผู้ที่หาโอกาสช่วยจัดสรรอย่างเต็มที่โดยที่เราไม่ต้องเอ่ยปากขอ
พื่อน  คือบุคคลที่เราสามารถฝากชีวิตจิตใจได้โดยเฉพาะยามทุกข์ลำบาก
เพื่อน  คือคนที่ไม่ได้เห็นผิดเป็นชอบ แต่ตักเตือนเราไม่ให้หลงผิดและแนะนำทิศให้ถูกทาง
เพื่อน  คือคนที่ไม่ได้เห็นด้วยกับเราในทุกอย่างทุกครั้ง แต่เป็นคนที่คิดพิจารณาและตักเตือนเราด้วยในบางครั้ง
เพื่อน  คือคนที่ช่วยเราด้วยความเต็มใจ
เพื่อน  คือคนที่ก้าวเหยียดอย่างสุดกำลังเพื่อช่วยเรา

ความทรงจำดีๆ






                        คำว่าเพื่อนจะไม่มีวันลบเลือน
                      ยังคอยเตือนให้นึกถึงความหลัง
                         ถึงว่านี้พวกเราต้องจากกัน
                          แต่ไม่มีวันที่ฉันนั้นลืมเทอ





ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปจับมือเพื่อนกัน



                      ความเป็นเพื่อนก็จะยังคงอยู่
                      จะยังคอยเฝ้าดูเป็นแรงเสริม
                      ความห่วงใยที่มีให้ไปเพิ่มเติม
                      คำว่า “เพื่อน” คำเดิมที่มั่นคง



                                 ในภาพอาจจะมี 8 คน, คนที่ยิ้ม, สถานที่กลางแจ้ง
                         เราสองคนจะเป็นเพื่อนกันตลอดไป
                          จะใกล้หรือไกลจะคิดถึงกันเสมอ
                              แม้ฝนตก ฟ้าร้อง ก็จะเจอ
                           เพราะคือเธอ เพื่อนฉัน ตลอดไป

วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560



ขนมไทย  5   ชนิด





15 สูตรขนมไทยยอดนิยม

1.  ลอดช่องน้ำกะทิ


ส่วนผสม น้ำกะทิ

      ◆ น้ำตาลปี๊บ 3+1/2 ถึง 4 ถ้วย
      ◆ เกลือป่น 1 ช้อนชา
      ◆ กะทิ 5 ถ้วย

ส่วนผสม ตัวลอดช่อง

      ◆ ใบเตยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 1 ปอนด์
      ◆ น้ำปูนใส 9 1/2 -10 ถ้วย
      ◆ แป้งข้าวเจ้า 3 ถ้วย
      ◆ แป้งมันสำปะหลัง 1 ถ้วย
      ◆ แป้งถั่วเขียว 4 ช้อนโต๊ะ
      ◆ น้ำเย็นจัด
      ◆ น้ำแข็งทุบ

วิธีทำลอดช่อง

          1. ทำน้ำกะทิโดยใส่น้ำตาลปี๊บ เกลือป่น และกะทิลงในอ่างผสม ใช้มือขยำส่วนผสมเข้าด้วยกันจนน้ำตาลปี๊บละลายเข้ากันดี กรองด้วยตะแกรง 
          2. นำส่วนผสมน้ำกะทิขึ้นตั้งไฟปานกลาง เคี่ยวจนน้ำกะทิใกล้เดือด (ให้ส่วนผสมเดือดเฉพาะตรงกลาง ไม่เดือดพล่าน เพื่อไม่ให้กะทิแตกมัน) ประมาณ 10-15 นาที ปิดไฟ ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น เตรียมไว้ (สามารถทำไว้ล่วงหน้าหรือทำทิ้งไว้ข้ามคืนได้)
          3. ใส่ใบเตยลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำปูนใส 6-7 ถ้วย ปั่นจนละเอียด จากนั้นคั้นเอาเฉพาะน้ำ เตรียมไว้
          4. ใส่แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง และแป้งถั่วเขียวลงไปในน้ำใบเตย โดยปล่อยให้แป้งค่อย ๆ จมลงไปในน้ำจนหมด (เทคนิค : ปล่อยให้แป้งจมลงไปในน้ำเอง รอประมาณ 1 นาที โดยไม่ต้องคน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แป้งจะได้ไม่จับตัวเป็นก้อน และละลายเข้ากับน้ำทั้งหมด) พอแป้งจมลงหมดแล้ว ค่อย ๆ คนผสมจนเข้ากันดี จากนั้นกรองด้วยตะแกรง เตรียมไว้
          5. ใส่ส่วนผสมลงในกระทะก้นลึกขนาดใหญ่ นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง กวนผสมตลอดเวลา ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง พอแป้งเริ่มเหนียว ค่อย ๆ เทน้ำปูนใสที่เหลือลงไปจนหมด กวนจนส่วนผสมเหนียว และมีสีใส
          6. ตักส่วนผสมแป้งใส่เครื่องกดลอดช่อง กดแป้งเป็นเส้น ๆ ลงในน้ำเย็นจัด จากนั้นตักส่วนผสมขึ้น ใส่ลงในถ้วย ตามด้วยน้ำกะทิที่เตรียมไว้ และน้ำแข็ง พร้อมเสิร์ฟ



15 สูตรขนมไทยยอดนิยม


2. ขนมฟักทอง


ส่วนผสม ขนมฟักทอง

      ◆ ฟักทอง 500 กรัม (ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้น ๆ)
      ◆ แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
      ◆ แป้งมันสำปะหลัง 1/4 ถ้วย
      ◆ มะพร้าวขูด 50 กรัม
      ◆ น้ำตาลทราย 1 ถ้วย
      ◆ เกลือป่น 1/2 ช้อนชา
      ◆ กะทิ 1 ถ้วย
      ◆ ถ้วยตะไล (สำหรับนึ่ง)

วิธีทำขนมฟักทอง

          1. นำฟักทองไปนึ่งจนสุกแล้วนำออกมาพักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
          2. ใส่แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังลงในฟักทองที่นึ่งสุกแล้ว จากนั้นนวดผสมให้เข้ากัน
          3. ใส่มะพร้าวขูด น้ำตาลทราย และเกลือป่นลงไปนวด จากนั้นค่อย ๆ เติมกะทิลงไปคนผสมจนเข้ากันดีและน้ำตาลทรายละลายหมด 
          4. ตักส่วนผสมใส่ถ้วยตะไลประมาณ 3/4 ของถ้วย จากนั้นนำไปนึ่ง (ในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด) ประมาณ 15-20 นาที นึ่งจนแป้งสุกและใส ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น 
          5. แคะขนมออกจากถ้วย พร้อมเสิร์ฟ


15 สูตรขนมไทยยอดนิยม


3. ขนมกล้วย


ส่วนผสม ขนมกล้วย

      ◆ กล้วยน้ำว้าสุก (บดละเอียด) 500 กรัม
      ◆ น้ำตาลทราย 100 กรัม
      ◆ เกลือป่น 1 ช้อนชา
      ◆ แป้งข้าวเจ้า 100 กรัม
      ◆ แป้งมันสำปะหลัง 5 ช้อนโต๊ะ
      ◆ หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร
      ◆ มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย
      ◆ ใบตองสำหรับห่อ (ถ้าไม่มีใบตองสามารถใช้ถ้วยตะไลได้)

วิธีทำขนมกล้วย

          1. ผสมกล้วยน้ำว้ากับน้ำตาลทราย เกลือป่น แป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง หัวกะทิ และมะพร้าวขูด คนผสมให้เข้ากันดี 
          2. ตักส่วนผสมขนมกล้วยลงบนใบตอง แผ่บาง ๆ หรือจะทำเป็นทรงกรวยห่อเป็นทรงให้สวยงาม (หรือตักใส่ถ้วยตะไล) วางเรียงบนชุดนึ่งที่มีน้ำเดือด นึ่งประมาณ 20 นาทีจนขนมสุก จากนั้นนำออกจากชุดนึ่ง พร้อมเสิร์ฟ



15 สูตรขนมไทยยอดนิยม


4. ขนมเข่ง


ส่วนผสม ขนมเข่ง

      ◆ แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม
      ◆ น้ำสะอาด 1 ถ้วย
      ◆ น้ำตาลปี๊บ 1 กิโลกรัม
      ◆ มะพร้าวขูด 300 กรัม
      ◆ กระทงสำหรับใส่ขนม
      ◆ น้ำมันพืชสำหรับทากระทง

วิธีทำขนมเข่ง

          1. ทากระทงด้วยน้ำมันพืชให้ทั่ว เตรียมไว้
          2. นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำจนแป้งนุ่ม จากนั้นใส่น้ำตาลปี๊บลงนวดให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
          3. ใส่มะพร้าวขูดลงคนผสมให้เข้ากัน ตักใส่กระทงประมาณ 3/4 ของกระทง 
          4. วางขนมเรียงลงในชุดนึ่ง จากนั้นนำไปนึ่งด้วยไฟแรงที่มีน้ำเดือด นานประมาณ 1/2 ชั่วโมง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น ใช้กรรไกรตัดเจียนกระทงที่เกินออกให้พอดีกับขนม พร้อมเสิร์ฟ


15 สูตรขนมไทยยอดนิยม


5. ตะโก้


ส่วนผสม หน้ากะทิ

      ◆ แป้งข้าวเจ้า 1/4 ถ้วยตวง
      ◆ กะทิ 2 ถ้วยตวง
      ◆ เกลือป่น 1 ช้อนชา

ส่วนผสม ตะโก้

      ◆ น้ำเปล่า 1 ถ้วย
      ◆ น้ำตาลทราย 1 1/2 ถ้วย
      ◆ แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วย
      ◆ แป้งมันสำปะหลัง 1/4 ถ้วย
      ◆ แป้งถั่วเขียว 2 ช้อนโต๊ะ
      ◆ น้ำลอยดอกมะลิ 2 ถ้วย (หรือน้ำสะอาด 2 ถ้วย ผสมน้ำหอมกลิ่นมะลิ 1/2 ช้อนชา)
      ◆ น้ำใบเตยคั้นเข้มข้น 2 ช้อนโต๊ะ
      ◆ แห้วต้มสุก (หั่นเต๋าเล็ก) 1 ถ้วย
      ◆ กระทงใบเตยสำหรับใส่ขนม

วิธีทำหน้ากะทิ

          ใส่แป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือป่นลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟใช้ความร้อนปานกลาง คนผสมจนข้นและเหนียว ยกลงจากเตา เตรียมไว้หยอดลงบนขนมตะโก้

วิธีทำตะโก้

          1. ใส่น้ำเปล่าลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย ต้มจนเดือดและเหนียวเป็นน้ำเชื่อม พักไว้จนเย็น
          2. ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง แป้งถั่วเขียว น้ำลอยดอกมะลิ และน้ำใบเตยจนละลายเข้ากันดี เทใส่ลงในส่วนผสมน้ำเชื่อม กวนผสมจนแป้งสุกเหนียวและใส จากนั้นใส่แห้วลงคนผสมให้เข้ากัน ยกลงจากเตา
          3. ตักใส่กระทงใบเตยที่เตรียมไว้ประมาณ 3/4 ของกระทง ตามด้วยหน้ากะทิจนเต็มพิมพ์ พักทิ้งไว้จนอุ่น จัดใส่จาน พร้อมเสิร์ฟ





วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2560


5 ที่ท่องเที่ยวภาคใต้


1. เกาะกำตก   จังหวัดระนอง

                                  ที่เที่ยวภาคใต้

เกาะกำตก อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแหลมสน เป็นอีกหนึ่งเกาะสวยของไทย ที่สวย เงียบสงบและมีเสน่ห์เป็นของตัวเอง ไฮไลท์ที่ต้องไปเยือนคือ "อ่าวเขาควาย" แห่งเกาะกำตก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวของหมู่เกาะกำ เพราะเป็นจุดที่ทางอุทยานเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามารับประทานอาหารและเล่นน้ำกันที่เกาะนี้ ที่นี่ร่มรื่นด้วยแนวต้นสน หาดทรายสวยงามขาวเนียน ทรายละเอียด น้ำทะเลสวยใส เหมาะแก่การลงแหวกว่ายเล่นน้ำเป็นอย่างยิ่ง

2. เกาะเขาใหญ่  จังหวัดสตูล

                                  ที่เที่ยวภาคใต้

อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทะเลทางฝั่งอันดามัน และที่เที่ยวสตูลห้ามพลาด เป็นเกาะหินปูนกลางทะเล อยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ห่างจากชายฝั่งบริเวณที่ทำการอุทยานประมาณ 10 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากท่าเรือปากบารา เพียงแค่ประมาณ 3-5 กิโลเมตรเท่านั้น  บนเกาะเขาใหญ่จะมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูนเสียส่วนใหญ่ มีชายหาดบางส่วน อ่าวที่มีชื่อเสียงคือ "นะปุลา" เป็นชายหาดที่เงียบสงบสวยงาม นอกจากนี้เวลาที่น้ำลดก็จะสามารถลอดช่องหินเข้าไปชมความสวยงามของ "ปราสาทหินพันยอด" สิ่งอัศจรรย์สุดอันซีนที่ธรรมชาติรังสรรค์ขึ้นจากการกัดเซาะหินของน้ำฝน จนกลายเป็นแท่งหินแหลมรูปร่างสวยงามแปลกตาคล้ายกับปราสาทในเทพนิยาย ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าปราสาทหินพันยอด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ธรณีวิทยา มีการพบฟอสซิลอายุมากกว่า 480 ล้านปี

3. เมืองเก่า  สงขลา

                              
                                 ที่เที่ยวภาคใต้

ย่านเมืองเก่าสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง มีถนนสายสำคัญน่าเดินเที่ยว 3 สาย คือถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ซึ่งยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญของเมืองให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์กันด้วย ทั้งศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนนางงาม, โรงสีหับ โห้ หิ้น ที่ทาสีแดงแปร๊ด ตั้งอยู่บนถนนนครนอก ริมทะเลสาบสงขลา เป็นต้น แต่สิ่งที่ทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาอีกครั้งก็คืองานสตรีทอาร์ต เป็นภาพวาดบนกำแพง จำลองบรรยากาศของร้านน้ำชาฟุเจา ซึ่งเป็นร้านน้ำชาเก่าแก่ในอดีตที่ตั้งอยู่ในอาคารนั้น นอกจากนี้ก็ยังมีภาพวาดแนวเดียวกันอยู่บริเวณอื่น ๆ ของเมืองด้วย รวมถึงมีของกินอร่อย ๆ มากมาย  ดูเพิ่มเติมได้ที่ เที่ยวถนนนางงาม พร้อมแวะชิม 9 ร้านอร่อยเมืองสงขลา 


4. เกาะปันหยี 

                              เที่ยวภาคใต้

 เกาะปันหยี ตั้งอยู่ที่บ้านท่าด่าน ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา เป็นหมู่บ้านของชาวมุสลิมกลางน้ำ ซึ่งมีมายาวนานมากกว่า 200 ปี ชาวบ้านยังคงใช้วิถีชีวิตแบบชาวเลแท้ ๆ ภายในเกาะมีบ้านเรือนของชาวบ้าน ที่สร้างขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ มีมัสยิด รวมทั้งสนามฟุตบอลขนาดเล็กของเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชื่นชมวิถีชีวิตอันเรียบง่ายแล้ว ยังจะได้ลิ้มลองอาหารทะเลสดใหม่ อาหารพื้นเมือง พร้อมทั้งเลือกซื้อสินค้าแฮนด์เมดของชาวบ้านอีกด้วย


5. เกาะกระดาน

                             ที่เที่ยวภาคใต้

 เกาะกระดาน เป็นเกาะที่สวยที่สุดของทะเลตรัง อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะมุกและเกาะลิบง มีเนื้อที่ 600 ไร่ ซึ่ง 5 ใน 6 ส่วนของเกาะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ที่เหลือเป็นของเอกชน เกาะกระดาน มีชายหาดที่มีทรายขาวละเอียดและน้ำทะเลใสจนมองเห็นแนวปะการัง ซึ่งเป็นปะการังน้ำตื้น ตลอดจนฝูงปลาหลากสีหลายพันธุ์  สำหรับการเดินทางไปท่องเที่ยวเกาะกระดาน สามารถทำได้ทั้งเหมาเรือไปเอง หรือไปกับทัวร์แบบ One Day Trip (4 เกาะ ได้แก่ เกาะเชือก เกาะม้า ถ้ำมรกต (เกาะมุก) และเกาะกระดาน) สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริเวณท่าเรือควนตุ้งกู ท่าเรือปากเมง หรือท่าเรือเจ้าไหม
 




ป ร ะ วั ติ ส่ ว น ตั ว ชื่อ  น.ส. เพ็ญนภา     นามสกุล แผนพาลี  ( Phennapha   Phaenphali ) ชื่อเล่น   นัท   ( Nut ) ชั้น ม.5...